วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่15
วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2558

สรุปการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.การเรียนวิชาการคณิตศาสตร์ทำให้ตัวดิฉันได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์จะช่วยให้เด็กได้รู้จักการใช้เหตุผล เพิ่มพูนคำศัพท์ที่ควรรู้จักและควรเข้าใจสามารถเชื่อมโยงไปสู่การเข้าใจเรื่องอื่นๆ ด้วยตนเองได้ดั้งนั้นเป้าหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กวัยอนุบาลจึงควรมีดังนี้
-เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อนำหลักการและกระบวนการในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต เช่น  การบวก ลบ คูณ  การนับจำนวน การเปรียบเทียบ สูง-ต่ำ เป็นต้น
3. มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จัก เข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
4. มีทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ
และได้เรียนรู้เกี่ยวกับสาระและกรอบมาตรฐาน 
 
สาระที่ 1 คือ จำนวนและการดำเนินการ ได้ความรู้ในเรื่องของจำนวนและการนับ
สาระที่ 2 คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ เท่ากัน ไม่เท่ากัน
น้อยกว่า มากกว่า
สาระที่ 3 คือ เรขาคณิต ในกิจกรรมนี้ยังมองไม่ชัดเจนในเรื่องของเรขาคณิต
สาระที่ 4 คือ พีชคณิต การเปรียบเทียบนักเรียนที่มากกว่านักเรียนที่ไม่มา
สาระที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ
สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กแก้โจทย์ปัญหา 

และการเรียนครั้งนี้ทำให้ได้นำเสนอสื่อการสอน,แผนการสอน และยังได้คำแนะนำเพื่อไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น และคณิตศาตร์ยังสามารถบูรณาการในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนแบบอื่นอีกมากมาย เช่น การจัดประสบการณ์แบบโครงการเช่น
1.สตอรี่ไลน์(เดินเรื่อง)
2.STAM
3.มอนเตอสรี่ฯลฯ 
ดิฉันจึงขอขอบคุณผู้สอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ทำให้ดิฉันเข้าใจว่าคณิตศาตร์มีความสำคัญมากเพียงใดและดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เก็บเกี่ยวในครั้งนี้ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในอนาคตค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2558
ครั้งที่14    
บันทึกอนุทิน 
ประจำวันที่2 พฤศภาคม 2558
เนื้อหาการเรียนรู้
-อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนทั้งภาคเรียนที่2 ดังนี้ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัย จะบูรณาการ

1.ภาษา,สุขศึกษา,สังคม,ศาสนา,คุณธรรมจริยธรรม,วิทยาศาสตร์,พลศึกษา,ดนตรี ฯลฯ
2.พัฒนาการทั้ง 4ด้าน คือด้านร่างกาย,ด้านอามรณ์-จิตใจ,ด้านสังคม,ด้านสติปัญญา
3.บูรณาการกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ,กิจกรรมเสริมประสบการณ์,กิจกรรมเสรี,กิจกรรมกลางแจ้ง,กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์,เกมการศึกษา

-ผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมคณิตศาสตร์อย่างไร?(ความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน)
1.นับจำนวนการจ่ายตังค์ในตลาดร่วมกับผู้ปกครอง
2.นั่งรถไปเที่ยวให้บวกเลขป้ายทะเบียน/อ่านเลขป้ายทะเบียน
3.การทำอาหารความยาว-ความสั้นของการเด็ดผัก
4.การนับชิ้นสิ่งของร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน
5.การให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะรับประทานอาหารโดยให้เด็กหยิบจาน,ช้อน,แก้ว ตามจำนวนคนในบ้าน (ให้หยิบของใช้มาเป็นชุด)
-ทบทวนความรู้เกมการศึกษา

1. เกมการศึกษา คืออะไร? เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3-5ขวบ เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย ภาพตัดต่อ เป็นต้
2. ประเภทของเกมการศึกษามีดังนี้
เกมจับคู่ เช่น จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน จับคู่ภาพกับเงา จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก
เกมภาพตัดต่อ เช่น ต่อภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน เช่น ต่อภาพปลา เมื่อเรียนหน่วยปลา ต่อภาพผลไม้ เมื่อเรียนหน่วยผลไม้ เป็นต้น
เกมจัดหมวดหมู่ ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต
เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
เกมเรียงลำดับ เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง เรียงลำดับขนาด
เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
เกมพื้นฐานการบวก



เกมจับคู่ หน่วยสัตว์

เกมจับคู่ หน่วยผลไม้ 

เกมจับคู่ภาพกับเงา

เกมจัดหมวดหมู่ และอื่นๆๆ

วิธีการสอน

1.อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม
2.ให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ทักษะที่ได้รับ
1.ได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์
2.ทักษะในการตอบคำถาม
3.ทักษะในการนำเสอนงานหน้าชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้
-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยให้ตรงตามพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการไปทุกๆด้าน
บรรยากาศในการสอน-มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียน
บรรยากาศในห้องเรียนเย็นจนเกินไป
เพื่อน ๆ มีความตั้งเรียนดี
ประเมินตนเอง 
-เข้าใจในเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และได้ตอบคำถามในห้องเรียน 
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆให้ความสำคัญ ในการเรียนการสอนและการตอบคำถามและตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลาหลาย
เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม
เข้าสอนตรงเวลา












วันอาทิตย์ที่10 เมษายน 2558
ครั้งที่13
บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่ 27 เมษายน 2558


เนื้อหาที่เรียน
( ชดเชยตารางเรียนของวันพุธ ที่ 4 เดือนมีนาคม 2558 )
- อาจารย์ให้ทำแบบประเมิน โดยให้เวลา 3 ชั่วโมง โดยให้ส่งทันในกำหนด
1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง
13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง


วันอาทิตย์ที่10 เมษายน 2558
ครั้งที่12  
บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่พุธที่ 22 เมษายน 2558
เนื้อหาที่เรียน
- อาจารย์ให้ขนมมา 1 กระปุก และให้ตัวแทน 1 คน จัดขนมที่อยู่ในกระปุกโดยการแบ่งขนมเป็นกองกอง



- ทำอย่างไรให้จับคู่หรือแบ่งกลุ่ม(โดยเด็กส่งขนมไปเรื่อยๆน้อยลงเรื่อยๆ โดยให้หยิบกับตัวเองโดยใช้ถาดในการหยิบ เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้ค่ามากกว่า/น้อยกว่า
- สอบสอนโดยให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามที่ได้รับมอบหมายเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยอาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนเพื่อให้เข้าใจในแผนการสอน


การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เนื้อหาเรียน และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้ อากาศร้อน พื้นที่ในการเรียนการสอนไม่ค่อยอำนวยความสะดวกเท่าไหร่

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์ บุคคลการแต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงตามเวลา

ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และช่วยกันตอบคำถามดีทุกคน

ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน
วันอาทิตย์10 เมษายน 2558
ครั้งที่11
  
บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่10 เมษายน 2558

สาระที่ควรเรียนรู้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย1. เรื่องใกล้ตัว
2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

ประสบการณ์สำคัญ
1. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
2. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
3. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
4. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะ
1. ข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่
2. เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ
- กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

- แบ่งกลุ่มทำ Mind Mapping
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และกลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม กลุ่มของดิฉันจัดทำในเรื่อง " ส้ม "





ความรู้ที่ได้รับ
คุณครูได้เเนะเเนวทางในการสอน ว่า ควรสอนให้เด็กได้เข้าใจอย่างเจนให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการร่วมกิจกรรมเพื่อเด็กจะได้ไม่เบื่อเเละยังทำให้เด็กเข้าใจเนื่อหายิ่งขึ้น

การประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กๆในว่าเราควรมีวิธีและเทคนิคในการสอนอย่างไรให้เด็กมีความรุ้เเละความเข้าใจในเนื้อหาที่เรานำไปสอน


บรรยากาศในห้องเรียน
มาเรียนใต้อาคารเนื่องจากอาคารเรียนที่ให้ไปเรียนอยู่ไกลมากไม่สามารถยกอุปกรณ์การเรียนการไปเรียนได้จึงมาเรียนใต้ตึกคนะ

ประเมินตัวเอง 
ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและจดเทคนิคในการเรียนการสอนที่คุณครูบอกได้

เประเมินพื่อน
ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
 
ประเมินครูผู้สอน
แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง ร้องเพลงเพราะ มีวิธีการสอนที่สอดแทรกกิจกกรมที่ทำให้สนุกกับการเรียน







วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่10 วัน
 พุธ ที่ 25 มีนาคม 2558
                                                  บันทึกอนุทิน
เนื้อหาที่เรียน

-ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น
1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เช่นบ้าน
4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสามเหลี่ยม
5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสี่เหลี่ยม
6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรง

-นำเสนอ เก็บตก เลขที่ที่ยังไม่ได้นำเสนออกมานำเสนอ เพื่อนรายงานรูปแบบการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย

-นำเสนอสื่อการเรียนรู้
นิทาน คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ตามสาระคณิตศาสตร์ที่ได้รับมอบหมาย



- นำเสนอรูปแบบการสอน

                          1) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่

หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา

ปรัชญาและหลักการสอน
1เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
2เด็กที่มีจิตซึมซับได้
3.ช่วงเวลาหลักของชีวิต
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม
5. การศึกษาด้วยตนเอง


วิธีการจัดการเรียนการสอน
การเตรียม = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

                            2)รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์

วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว


ลักษณะเด่นของวิธีสอน

1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง
3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง
4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
4) ปัญหาที่รอการแก้ไข


                         3) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL


วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง

1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง


                             4) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM

STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology),วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
- Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
- Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
- Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
- Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

วิธีการสอน
-มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ
-ได้ทักฝาะการนำสื่อมาใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอน
-ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้
-สามารถนำสื่อต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอนของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน

-เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันดีมากค่ะ
แอร์หนาวเย็น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

-อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
เข้าสอนตรงเวลา
ครั้งที่9
วัน พุธ ที่ 18 มีนาคม 2558
                                                     บันทึกอนุทิน
เนื้อหา


- นำเสนอวิจัย

เลขที่ 22

- นำเสนอบทความ

เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "

- นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน

- ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
- ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะ

- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการพูดนำเสนองาน
- ทักษะในการตอบคำถาม



การนำไปประยุกต์ใช้ 

นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน

มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียน นำเสนองานติดขัดบ้าง ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง


ประเมินเพื่อน 

เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศในการเรียนการสอนจึงเป็นไปด้วยความเงียบ ส่วนเพื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์

มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ