วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่10 วัน
 พุธ ที่ 25 มีนาคม 2558
                                                  บันทึกอนุทิน
เนื้อหาที่เรียน

-ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น
1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เช่นบ้าน
4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสามเหลี่ยม
5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสี่เหลี่ยม
6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรง

-นำเสนอ เก็บตก เลขที่ที่ยังไม่ได้นำเสนออกมานำเสนอ เพื่อนรายงานรูปแบบการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย

-นำเสนอสื่อการเรียนรู้
นิทาน คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ตามสาระคณิตศาสตร์ที่ได้รับมอบหมาย



- นำเสนอรูปแบบการสอน

                          1) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่

หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา

ปรัชญาและหลักการสอน
1เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
2เด็กที่มีจิตซึมซับได้
3.ช่วงเวลาหลักของชีวิต
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม
5. การศึกษาด้วยตนเอง


วิธีการจัดการเรียนการสอน
การเตรียม = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

                            2)รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์

วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว


ลักษณะเด่นของวิธีสอน

1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง
3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง
4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
4) ปัญหาที่รอการแก้ไข


                         3) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL


วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง

1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง


                             4) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM

STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology),วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
- Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
- Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
- Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
- Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

วิธีการสอน
-มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ
-ได้ทักฝาะการนำสื่อมาใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอน
-ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้
-สามารถนำสื่อต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอนของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน

-เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันดีมากค่ะ
แอร์หนาวเย็น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

-อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
เข้าสอนตรงเวลา
ครั้งที่9
วัน พุธ ที่ 18 มีนาคม 2558
                                                     บันทึกอนุทิน
เนื้อหา


- นำเสนอวิจัย

เลขที่ 22

- นำเสนอบทความ

เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "

- นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน

- ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
- ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะ

- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการพูดนำเสนองาน
- ทักษะในการตอบคำถาม



การนำไปประยุกต์ใช้ 

นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน

มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียน นำเสนองานติดขัดบ้าง ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง


ประเมินเพื่อน 

เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศในการเรียนการสอนจึงเป็นไปด้วยความเงียบ ส่วนเพื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์

มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ
ครั้งที่8 วัน พุธ ที่ 11 มีนาคม 2558
                                                 
                                                        บันทึกอนุทิน



เนื้อหาที่เรียน

เพื่อนนำเสนอบทความ
เลขทึ่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว

ทบทวนความรู้สาระและมาตรฐานในการเรียนรู้

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความรู้
ความสำคัญ
วิธีการจัดการเรียนการสอน จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1.วางแผนและเริ่มโครงการ
2.พัฒนาโครงการ
3.สรุปและอภิปรายโครงการ
ลักษณะรูปแบบการสอนโครงการ
1.อภิปราย
2.นำเสนอประสบการณ์เดิม
3.การทำงานภาคสนาม
4.การสืบค้น และตั้งคำถาม
5.การจัดแสดงนิทรรศการ

ฝึกร้องเพลง

   


                                                            เพลงบวก-ลบ


                                       บ้านฉันมีหมวกสวยสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
                                           มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
                                           บ้านฉันมีหมวกสวยเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
                                           ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ




                                                       เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน

                                                         ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
                                                 คนเรานัั้นหนา สองขา ต่างกัน
                                                 ช้างม้ามี สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
                                                  แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


                                                     


                                                              เพลงขวดห้าใบ

                                            ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
                                                   เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
                                                   คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง
                                                   (ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวด 1 ใบ)
                                                   ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง


                                                                เพลงจับปู

                                                          จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
                                                        6 7 8 9 10
                                                              กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ





วิธีการสอน

ทบทวนความรู้เดิม
มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ

ได้ทักษะการร้องเพลง แปลงเพลง ได้รู้เพลงใหม่ๆ มากขึ้น
ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้จากการแปลงเพลงไปใช้ในการสอน ให้เหมาะกับเนื้อหาที่เด็กเรียน

บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆ ไม่มีความพร้อมในการเรียน
อุปกรณ์ สื่อคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยดี
แอร์หนาวเย็น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลายเข้าสอนตรงเวลา

การบันทึกอนุทินครั้งที่7 วัน พุธ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558

เนื้อหาที่เรียน

-สอนเรื่องเวลา ให้นักเรียนออกไปเขียนชื่อ วาดรูปนาฬิกาตามเวลาที่นักเรียนมาโรงเรียน เพื่อสอนให้เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

-ทบทวนบทเพลง
เข้าแถว สวัสดียามเช้า ซ้ายขวา จัดแถว หนึ่งปีมีสิบสองเดือน นกกระจิบ นับนิ้วมือ เป็นต้น

-ทดสอบก่อนเรียน
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง

-เลขที่ 17 นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ใช้ลูกเต๋าเป็นสื่อ

-ทบทวนสาระและมาตรฐานการเรียนรู้

-รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถโดยเชื่อมโยงเนื้อห่ สาระของศาสตร์ต่างๆ

ความสำคัญ

1.ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกันทำให้ผู้ที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆ มาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้
2.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์
3.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อน
4.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆด้านช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ แบบพหุปัญญา
5.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียนที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน
การนำไปใช้
เด็กต้องควรอยากรู้อะไร
เด็กต้องควรอยากทำอะไร

สาระที่ควรรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก บุลคล สถานที่ ธรรมชาติ สิ่งต่างๆ ประสบการณ์ทั้ง 4 ด้าน กายวาจาใจ สังคม อารมณ์ สติปัญญา


ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการนำเสนอบทความ
-ทักษะการคิดท่าทางประกอบเพลง
-ทักษะการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้เรื่องในชีวิตประจำวัน


วิธีการสอน
-ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้ก่อนเข้าเรียน
-ทบทวนบทเรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อเตือนความจำของเด็ก
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด


การประยุกต์ใช้
-นำการสอนที่ใช้ในชีวิตประจำวันไปสอนเด็กได้
-นำเพลงไปร้องให้เด็กฟังได้


บรรยากาศในการเรียน
-แอร์เย็น
-ห้องเรียนอบอุ่น
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือมาก
-สนุกสนาน


ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
-สอนสนุก
-เสียงดัง ฟังชัด
-ใช้เทคนิคหลายอย่างในการสอน

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


       ครั้งที่6                                                                                                                                                                                             บันทึกอนุทิน
                                             ประจำวันพุธ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558


เนื้อหา

- กิจกรรมติดป้ายชื่อบนหน้ากระดาน เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่นักศึกษาจำนวน 16 คน อยากไป คือ
1. ดรีมเวิลด์ = 5 คน
2. ทะเล = 5 คน
3. เกาหลี = 6 คน

สรุป นักศึกษากลุ่ม 101 อยากไปเที่ยวที่เกาหลีมากที่สุด หรือ นักศึกษาอยากไปเกาหลีมากกว่าดรีมเวิลดฺและทะเล ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน

จากกิจกรรมดังกล่าว จะเกี่ยวกับเรื่องการนับ ( การเพิ่มขึ้นทีละ 1) และค่าจำนวน เป็นการสอนแบบภาษาธรรมชาติ

- ทดสอบก่อนเรียน เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์มีอะไรบ้างและนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร


             เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ คือ
1.นิทาน                                                                                                                                       2. เพลง
3. เกม
4. คำคล้องจอง
5. ปริศนาคำทาย
6. บทบาทสมมติ
7. แผนภูมิรูปภาพ
8. การประกอบอาหาร
9. กิจวัตรประจำวัน เช่น การไปตลาด

นำเสนอบทความ

- เลขที่ 13 การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการสร้างหนังสือภาพ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน ได้รับประสบการณ์ตรง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
- เลขที่ 14 การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการการละเล่นพื้นบ้าน
การเล่นคำทาย,การเป่ากบ,กาฟักไข่,รีรีข้าวสาร ฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การคิด รู้จักการรอคอย คิดอย่างเป็นระบบ

- แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม แบ่งกลุ่มตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน 3 สี คือ สีส้ม สีเหลือง สีเขียว สีละ 10 อัน รวมเป็น 30 อัน โดยให้นักศึกษาต่อเป็นรูปภาพโดยเริ่มจากสี่เหลี่ยม 1 รูป ไปจนถึงสี่เหลี่ยม 5 รูป




                                                          ร้องเพลงนับนิ้วมือ

                                            นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
                                            มือซ้ายก็มีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
                                            นับ 1 2 3 4 5 นับต่อมา 6 7 8 9 10
                                            นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ


แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม

แบ่งกลุ่มตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน 3 สี สีละ 10 อัน
ให้นักศึกษาต่อเป็นรูปภาพโดยเริ่มจากสี่เหลี่ยม 1 รูป ไปจนถึงสี่เหลี่ยม 5 รูป


วิธีการสอน

-มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียน
-มีการทบวนความรู้เดิมที่เรียนในสัปดาห์ที่แล้ว
-ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการสอน
-เปิดโอกาสให้เด็กได้ระดมความคิดตอบคำถาม

ทักษะที่ได้รับ

-ได้รับประสบการณ์ตรงจากกิจกรรมที่เราได้ทำ
-ได้รับทักษะทางสังคมจากการทำงานเป็นกลุ่ม
-ได้รับทักษะในการคิดและตอบคำถาม
-การประยุกต์ใช้

-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให็กับเด็กในเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยวิธีการที่หลากหลาย

บรรยากาศในการสอน

โดยรวมเพื่อนมีความตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี
เพื่อนบางคนไม่มีความพร้อมในการเรียน
อุณหภูมิให้ห้องเย็นจนเกินไป ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำก่อนเค้าเรียนทุกคาบ สอนนักศึกษาโดยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริง
เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และ ตอบคำถาม