วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่4
วันที่29 มกราคม พ.ศ 2558

บันทึกอนุทิน

ประจำวันพุธที่28 มกราคม พ.ศ 2558

เนื้อหาการเรียน

-ทดสอบก่อนเรียนทุกครั้ง
-กิจกรรมการสอนคณิตศาตร์เกี่ยวกับการมาเรียน
-กิจกรรมการทำป้ายชื่อเพื่อเป็นสื่อในการสอนคณิตศาสตร์ฅ

กิจกรรมการเรียนการสอน

นำเสนอโทรทัศน์ครู เลขที่ 7,8,9 เพื่อเป็นการสอนให้นักศึกษาหมั่นค้นคว้าแนวทางในการเรียนรู้ภายนอกห้องเรียนเพิ่มเติม

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจเกียวกับคณิตศาสตร์เช่นการรู้จักคำศัพท์ต่างๆ
พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เช่น บวก ลบ
เพื่อให้เด็กรู้จักการใช้กระบวนการหาคำตอบ
เพื่อฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยทางด้านคณิตศาสตร์

1). การสังเกต -ใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง
-โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์ทางโดยตรงกับร่างกาย

2) การจำแนก - แบ่งประเภท
-เกณฑ์คือ ความเหมือน ความเเตกต่าง

3)การเปรียบเทียบ เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของเเละเด็กจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ

4) การจัดลำดับ
ทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
การจัดลำดับวัตถุ

5)การวัด
ความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย

6)
การนับ

ชอบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
การนับเเบบท่องจำจะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7) รูปทรงเเละขนาด เด็กส่วนใหญ่จะรู้ขนาดเเละรูปทรงก่อนจะเข้าโรงเรียนเพราะดูจากสิ่งเเวดล้อมรอบตัว

การนับจำนวนแล้วจับคู่ภาพ


การเปรียบเทียบ



การวัด


เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




เพลง สวัสดียามเช้า

ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า 
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว
หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ
ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า




เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน

หนึ่งปีนั้นมีสิบสอง
อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
หลั่นลัน หลั่นล้า



เพลง เข้าแถว

เข้าแถว เข้าแถว
อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว




ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะด้านการคิด
2.ทักษะด้านการทำงานเป็นกลุ่ม
3.ได่้รู้เทคนิคการสอน

วิธีการสอน
เรียนรู้ด้วยตนเองเเล้วคุณครูจะอธิบายเเละให้เข้าใจความหมายให้เข้าใจมากขึ้นใช้สื่อที่เขียนเองเเละใช้โปรเเกรมพาวเวอพ้อยเป็นสื่อในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น


การประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้
-การสรุปความ


-การพูดอภิปราย
-การทำงานเป็นกลุ่ม


การประยุกต์ใช้
เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปจัดกิจกรรม ให้เหมาะกับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้ใช้ทักษะตามศักยภาพของตนเอง


บรรยากาศในชั้นเรียน
อุปกรณ์ในห้องพร้อมใช้งาน คุณครูเเต่งกายสุภาพพูดจาชัดเจน มาเข้าสอนตรงตามเวลา

ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำงานที่คุณครูมอบหมายอยาางมีประสิทธิภาพ


ประเมินเพื่อน
เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนดีทำงานตามที่ได้รับมอบหมายได้ดี มีพูดกันเสียงดังเล็กน้อย

ประเมินอาจารย์ 
มีน้ำเสียงในการสอนที่พอดี ไม่สูงไม่ต่ำมากจนเกินไป หากิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนมาให้นักศึกษาทำ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร้องเพลงได้ไพเราะ มีเสียงสูงเสียงต่ำ ฟังแล้วไพเราะเสนาะหู










ครั้งที่3  
วันศุกร์ 23 มกราคม พ.ศ 2558

บันทึกอนุทิน

ประจำวันพุธที่21 มกราคม พ.ศ 2558

เนื้อหาการเรียน

ทดสอบก่อนเรียน
- ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
- พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
- พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
- การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
- เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร
ความหมายพัฒนาการและประโยชน์
พัฒนาการคือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์
เพื่อให้รู้ถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล
รู้ความสามารถของเด็กเพื่อจักกิจกรรมให้เหมาะสม


ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์


1).ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู

2).ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปีแบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้นคือ ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข
3).ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล
4.ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่

ทฤษฎีการเรียนรู้ของไวก๊อตสกี้

ความสามารถของเด็กจะเกิดขึ้นได้ดีจะต้องมีความช่วยเหลือจากครูและผู้ปกครองและเด็กจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ลงมือทำแบบอิสละและเลือกได้
ประโยชน์ของการเรียนรู้
เพื่อให้เราอยู่รอดเป็นทักษะของชีวิต
เพื่อจะได้จักกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้

 ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์ 

เด็กจะสร้างภาพขึ้นมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้
1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
-ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
-ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
-ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)


วิธีการสอน
- ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อทดสอบความรู้เดิม
- มีการบรรยายแบบถามตอบเพื่อทวนความรู้เดิม
- ใช้เทคโนโลยีในการสอน



ประเมินตนเอง
เข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา แต่บางอย่างต้องศึกษาเองเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน
ให้ความร่วมมือดี ตอบคำถามและมีความสนใจดี
ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพเรียนร้อย พูดด้วยถ้อยคำที่ชัดเจนและสอนเข้าใจเข้าและยังใช้เทคนิคต่างๆในการสอนมากมายมากมาย



สรุปงานวิจัย

วันที่23 มกราคม พ.ศ 2558


 เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน

ชื่องานวิจัย:  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจหรรมการสาน
ผู้วิจย; วันดี  มั่นจงดี
มหาวิทยาลัย: ศร๊นครินทรวิโรฒ
ปี: 2554

ความสำคัญ


 การศึกษาในระดับปฐมวัยจัดเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความสำคัญระดับหนึ่งเพราะเป็นช่วงที่มีการพัฒนาทุกด้านเจริญอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาและการพัฒนาของเด็กในช่วงนี้จะเป็นการวางพื้นฐานความสามารถด้านต่างๆซึ่ง จะมีผลต่ออนาคตของเด็กประเทศชาติ โดยเฉพราะอย่างยิ่งพัฒนาทางด้านสติปัญญาจะมีผลต่อการเจรฺิญเติบโตสูงสุดร้อยล่ะ 50 และจะเพิ่งเป็นร้อยล่ะ 80 เมื่อเด็กอายุประมาณ 8 ขวบ เราควรจัดการศึกษาการจัดกิจกรรมในโรงเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยเพราะเด็กมีความจำเป็นจะต้องการกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับเด็กเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการต่างๆต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย


         ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย

              ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง4-5 ปีของโรงเรียนวัดนิมมานรดี สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน240 คน
       
         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

              กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลที่1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึษา2553
       
         ตัวแปรที่ศึกษา

             ตัวแปรอิสระ ได้แก่  การจัดกิจกรรมการสาน
             ตัวแปรตาม   ได้แก่  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

        นิยามศัพท์เฉพาะ

            1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลที่1 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2553
           2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถการสังเกตการเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่เป็นต้น
วิธีดำเนินการวิจัย


วิธีการดำเนินงานวิจัย

1. การกำหนดประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล


สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการ
จำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน
1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ย
สูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01








สรุปบทความ

วันศุกที่16 มกราคม พ.ศ 2558

เรื่อง เจอะคณิตศาสตร์ปฐมวัย พ่อแม่ทราบหรือไม่ลูกๆ เรียนอ่ะไรกัน

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์



คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ 3-5 ขวบมีดังนี้


1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม

2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน

3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ

4) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

5) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม

6) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการทำงานเป็นกลุ่ม


วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธที่ 7 มกราคม 2558
เนื้อหา  

การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์

- เด็กได้เรียนรู้จากการเล่น
-ให้เด็กลงมือทำด้วยตนเอง
-ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่ม  
-จักเกมการศึกษา เช่น  เกมจับคู่ เป็นต้น

รูปทรงทางคณิตศาสตร์ เช่น

-สี่เหลี่ยมจตุรัส วงกลม วงรี  สื่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงกระบอก ทรงกรวย เป็นต้น 
-จำนาวหรือตัวเลข 1-10
-เส้น เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นหยัก เป็นต้น
-การบวก การลบ การคูณ การหาร

ประโยชน์


-เด็กสามารถรับรู้เกี่ยวกับเรื่องของการจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของมันได้

-สามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อขายสินค้า การบอกเวลา เป็นต้น

-สามารถนำไปจัดเกมการศึกษา เช่น จับคู่รูปร่าง จับคู่จำ

แนวคิดของนักการศึกษา เช่น แนวคิดของ  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์(Intellectual development Theory)
ซึ่งเป็นทษฏีที่ยอมรักกันอย่างแพร่หลาย และสามารถเป็นแนวทางทางการศีกษาของนักศึกษาและใช้ในการสอนของครู

วิธีการสอน

-สอนแบบบูรณาการณ์ การรวบรวมความคิดของนักศึกษาในกานอบคำถามในขั้นเรียน 
-สอนให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง
-สอนให้นำเสนอหน้าช้นเรียน



การประยุกต์ใช้

-นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กเพื่อให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับค่าของตัวเลข ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น เกมการศึกษา เกมจับคู่ เป็นต้น

การประเมิน

-ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังครูผู้สอน ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ทำงานที่ได้รับมอบหมาย

-ประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน


-ประเมินอาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจง่าย ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พูดเสียงดังฟังชัดค่ะ