วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่15
วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2558

สรุปการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.การเรียนวิชาการคณิตศาสตร์ทำให้ตัวดิฉันได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์จะช่วยให้เด็กได้รู้จักการใช้เหตุผล เพิ่มพูนคำศัพท์ที่ควรรู้จักและควรเข้าใจสามารถเชื่อมโยงไปสู่การเข้าใจเรื่องอื่นๆ ด้วยตนเองได้ดั้งนั้นเป้าหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กวัยอนุบาลจึงควรมีดังนี้
-เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อนำหลักการและกระบวนการในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต เช่น  การบวก ลบ คูณ  การนับจำนวน การเปรียบเทียบ สูง-ต่ำ เป็นต้น
3. มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จัก เข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
4. มีทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ
และได้เรียนรู้เกี่ยวกับสาระและกรอบมาตรฐาน 
 
สาระที่ 1 คือ จำนวนและการดำเนินการ ได้ความรู้ในเรื่องของจำนวนและการนับ
สาระที่ 2 คือ การวัด ได้ความรู้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ เท่ากัน ไม่เท่ากัน
น้อยกว่า มากกว่า
สาระที่ 3 คือ เรขาคณิต ในกิจกรรมนี้ยังมองไม่ชัดเจนในเรื่องของเรขาคณิต
สาระที่ 4 คือ พีชคณิต การเปรียบเทียบนักเรียนที่มากกว่านักเรียนที่ไม่มา
สาระที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น นำเสนอข้อมูลโดยกราฟ
สาระที่ 6 คือ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กแก้โจทย์ปัญหา 

และการเรียนครั้งนี้ทำให้ได้นำเสนอสื่อการสอน,แผนการสอน และยังได้คำแนะนำเพื่อไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น และคณิตศาตร์ยังสามารถบูรณาการในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนแบบอื่นอีกมากมาย เช่น การจัดประสบการณ์แบบโครงการเช่น
1.สตอรี่ไลน์(เดินเรื่อง)
2.STAM
3.มอนเตอสรี่ฯลฯ 
ดิฉันจึงขอขอบคุณผู้สอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ทำให้ดิฉันเข้าใจว่าคณิตศาตร์มีความสำคัญมากเพียงใดและดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เก็บเกี่ยวในครั้งนี้ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในอนาคตค่ะ
วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2558
ครั้งที่14    
บันทึกอนุทิน 
ประจำวันที่2 พฤศภาคม 2558
เนื้อหาการเรียนรู้
-อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนทั้งภาคเรียนที่2 ดังนี้ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัย จะบูรณาการ

1.ภาษา,สุขศึกษา,สังคม,ศาสนา,คุณธรรมจริยธรรม,วิทยาศาสตร์,พลศึกษา,ดนตรี ฯลฯ
2.พัฒนาการทั้ง 4ด้าน คือด้านร่างกาย,ด้านอามรณ์-จิตใจ,ด้านสังคม,ด้านสติปัญญา
3.บูรณาการกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ,กิจกรรมเสริมประสบการณ์,กิจกรรมเสรี,กิจกรรมกลางแจ้ง,กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์,เกมการศึกษา

-ผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมคณิตศาสตร์อย่างไร?(ความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน)
1.นับจำนวนการจ่ายตังค์ในตลาดร่วมกับผู้ปกครอง
2.นั่งรถไปเที่ยวให้บวกเลขป้ายทะเบียน/อ่านเลขป้ายทะเบียน
3.การทำอาหารความยาว-ความสั้นของการเด็ดผัก
4.การนับชิ้นสิ่งของร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน
5.การให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะรับประทานอาหารโดยให้เด็กหยิบจาน,ช้อน,แก้ว ตามจำนวนคนในบ้าน (ให้หยิบของใช้มาเป็นชุด)
-ทบทวนความรู้เกมการศึกษา

1. เกมการศึกษา คืออะไร? เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ เกมการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3-5ขวบ เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย ภาพตัดต่อ เป็นต้
2. ประเภทของเกมการศึกษามีดังนี้
เกมจับคู่ เช่น จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน จับคู่ภาพกับเงา จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก
เกมภาพตัดต่อ เช่น ต่อภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน เช่น ต่อภาพปลา เมื่อเรียนหน่วยปลา ต่อภาพผลไม้ เมื่อเรียนหน่วยผลไม้ เป็นต้น
เกมจัดหมวดหมู่ ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต
เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
เกมเรียงลำดับ เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง เรียงลำดับขนาด
เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
เกมพื้นฐานการบวก



เกมจับคู่ หน่วยสัตว์

เกมจับคู่ หน่วยผลไม้ 

เกมจับคู่ภาพกับเงา

เกมจัดหมวดหมู่ และอื่นๆๆ

วิธีการสอน

1.อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม
2.ให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ทักษะที่ได้รับ
1.ได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์
2.ทักษะในการตอบคำถาม
3.ทักษะในการนำเสอนงานหน้าชั้นเรียน
การประยุกต์ใช้
-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยให้ตรงตามพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการไปทุกๆด้าน
บรรยากาศในการสอน-มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียน
บรรยากาศในห้องเรียนเย็นจนเกินไป
เพื่อน ๆ มีความตั้งเรียนดี
ประเมินตนเอง 
-เข้าใจในเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และได้ตอบคำถามในห้องเรียน 
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆให้ความสำคัญ ในการเรียนการสอนและการตอบคำถามและตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลาหลาย
เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม
เข้าสอนตรงเวลา












วันอาทิตย์ที่10 เมษายน 2558
ครั้งที่13
บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่ 27 เมษายน 2558


เนื้อหาที่เรียน
( ชดเชยตารางเรียนของวันพุธ ที่ 4 เดือนมีนาคม 2558 )
- อาจารย์ให้ทำแบบประเมิน โดยให้เวลา 3 ชั่วโมง โดยให้ส่งทันในกำหนด
1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง
13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง


วันอาทิตย์ที่10 เมษายน 2558
ครั้งที่12  
บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่พุธที่ 22 เมษายน 2558
เนื้อหาที่เรียน
- อาจารย์ให้ขนมมา 1 กระปุก และให้ตัวแทน 1 คน จัดขนมที่อยู่ในกระปุกโดยการแบ่งขนมเป็นกองกอง



- ทำอย่างไรให้จับคู่หรือแบ่งกลุ่ม(โดยเด็กส่งขนมไปเรื่อยๆน้อยลงเรื่อยๆ โดยให้หยิบกับตัวเองโดยใช้ถาดในการหยิบ เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้ค่ามากกว่า/น้อยกว่า
- สอบสอนโดยให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามที่ได้รับมอบหมายเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยอาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนเพื่อให้เข้าใจในแผนการสอน


การนำไปประยุกต์ใช้การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เนื้อหาเรียน และได้ศึกษาในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มาก และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้ อากาศร้อน พื้นที่ในการเรียนการสอนไม่ค่อยอำนวยความสะดวกเท่าไหร่

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์ บุคคลการแต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงตามเวลา

ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และช่วยกันตอบคำถามดีทุกคน

ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีวิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการเรียนการสอน
วันอาทิตย์10 เมษายน 2558
ครั้งที่11
  
บันทึกอนุทิน
ประจำวันที่10 เมษายน 2558

สาระที่ควรเรียนรู้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย1. เรื่องใกล้ตัว
2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

ประสบการณ์สำคัญ
1. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
2. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
3. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
4. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะ
1. ข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่
2. เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ
- กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

- แบ่งกลุ่มทำ Mind Mapping
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และกลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม กลุ่มของดิฉันจัดทำในเรื่อง " ส้ม "





ความรู้ที่ได้รับ
คุณครูได้เเนะเเนวทางในการสอน ว่า ควรสอนให้เด็กได้เข้าใจอย่างเจนให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการร่วมกิจกรรมเพื่อเด็กจะได้ไม่เบื่อเเละยังทำให้เด็กเข้าใจเนื่อหายิ่งขึ้น

การประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กๆในว่าเราควรมีวิธีและเทคนิคในการสอนอย่างไรให้เด็กมีความรุ้เเละความเข้าใจในเนื้อหาที่เรานำไปสอน


บรรยากาศในห้องเรียน
มาเรียนใต้อาคารเนื่องจากอาคารเรียนที่ให้ไปเรียนอยู่ไกลมากไม่สามารถยกอุปกรณ์การเรียนการไปเรียนได้จึงมาเรียนใต้ตึกคนะ

ประเมินตัวเอง 
ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและจดเทคนิคในการเรียนการสอนที่คุณครูบอกได้

เประเมินพื่อน
ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
 
ประเมินครูผู้สอน
แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง ร้องเพลงเพราะ มีวิธีการสอนที่สอดแทรกกิจกกรมที่ทำให้สนุกกับการเรียน







วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่10 วัน
 พุธ ที่ 25 มีนาคม 2558
                                                  บันทึกอนุทิน
เนื้อหาที่เรียน

-ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น
1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เช่นบ้าน
4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสามเหลี่ยม
5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสี่เหลี่ยม
6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรง

-นำเสนอ เก็บตก เลขที่ที่ยังไม่ได้นำเสนออกมานำเสนอ เพื่อนรายงานรูปแบบการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย

-นำเสนอสื่อการเรียนรู้
นิทาน คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ตามสาระคณิตศาสตร์ที่ได้รับมอบหมาย



- นำเสนอรูปแบบการสอน

                          1) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่

หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา

ปรัชญาและหลักการสอน
1เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
2เด็กที่มีจิตซึมซับได้
3.ช่วงเวลาหลักของชีวิต
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม
5. การศึกษาด้วยตนเอง


วิธีการจัดการเรียนการสอน
การเตรียม = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

                            2)รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์

วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว


ลักษณะเด่นของวิธีสอน

1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง
3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง
4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
4) ปัญหาที่รอการแก้ไข


                         3) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL


วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง

1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง


                             4) รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM

STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology),วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
- Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
- Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
- Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
- Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

วิธีการสอน
-มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ
-ได้ทักฝาะการนำสื่อมาใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอน
-ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้
-สามารถนำสื่อต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอนของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน

-เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันดีมากค่ะ
แอร์หนาวเย็น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

-อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
เข้าสอนตรงเวลา
ครั้งที่9
วัน พุธ ที่ 18 มีนาคม 2558
                                                     บันทึกอนุทิน
เนื้อหา


- นำเสนอวิจัย

เลขที่ 22

- นำเสนอบทความ

เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "

- นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ

** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวับ



วิธีการสอน

- ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
- ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะ

- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการพูดนำเสนองาน
- ทักษะในการตอบคำถาม



การนำไปประยุกต์ใช้ 

นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย



บรรยากาศในห้องเรียน

มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียน นำเสนองานติดขัดบ้าง ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง


ประเมินเพื่อน 

เพื่อนมาเรียนน้อย บรรยากาศในการเรียนการสอนจึงเป็นไปด้วยความเงียบ ส่วนเพื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์

มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ
ครั้งที่8 วัน พุธ ที่ 11 มีนาคม 2558
                                                 
                                                        บันทึกอนุทิน



เนื้อหาที่เรียน

เพื่อนนำเสนอบทความ
เลขทึ่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว

ทบทวนความรู้สาระและมาตรฐานในการเรียนรู้

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความรู้
ความสำคัญ
วิธีการจัดการเรียนการสอน จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1.วางแผนและเริ่มโครงการ
2.พัฒนาโครงการ
3.สรุปและอภิปรายโครงการ
ลักษณะรูปแบบการสอนโครงการ
1.อภิปราย
2.นำเสนอประสบการณ์เดิม
3.การทำงานภาคสนาม
4.การสืบค้น และตั้งคำถาม
5.การจัดแสดงนิทรรศการ

ฝึกร้องเพลง

   


                                                            เพลงบวก-ลบ


                                       บ้านฉันมีหมวกสวยสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
                                           มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
                                           บ้านฉันมีหมวกสวยเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
                                           ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ




                                                       เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน

                                                         ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
                                                 คนเรานัั้นหนา สองขา ต่างกัน
                                                 ช้างม้ามี สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
                                                  แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


                                                     


                                                              เพลงขวดห้าใบ

                                            ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
                                                   เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
                                                   คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง
                                                   (ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวด 1 ใบ)
                                                   ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง


                                                                เพลงจับปู

                                                          จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
                                                        6 7 8 9 10
                                                              กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ





วิธีการสอน

ทบทวนความรู้เดิม
มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ

ได้ทักษะการร้องเพลง แปลงเพลง ได้รู้เพลงใหม่ๆ มากขึ้น
ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้จากการแปลงเพลงไปใช้ในการสอน ให้เหมาะกับเนื้อหาที่เด็กเรียน

บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆ ไม่มีความพร้อมในการเรียน
อุปกรณ์ สื่อคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยดี
แอร์หนาวเย็น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลายเข้าสอนตรงเวลา

การบันทึกอนุทินครั้งที่7 วัน พุธ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558

เนื้อหาที่เรียน

-สอนเรื่องเวลา ให้นักเรียนออกไปเขียนชื่อ วาดรูปนาฬิกาตามเวลาที่นักเรียนมาโรงเรียน เพื่อสอนให้เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

-ทบทวนบทเพลง
เข้าแถว สวัสดียามเช้า ซ้ายขวา จัดแถว หนึ่งปีมีสิบสองเดือน นกกระจิบ นับนิ้วมือ เป็นต้น

-ทดสอบก่อนเรียน
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง

-เลขที่ 17 นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ใช้ลูกเต๋าเป็นสื่อ

-ทบทวนสาระและมาตรฐานการเรียนรู้

-รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถโดยเชื่อมโยงเนื้อห่ สาระของศาสตร์ต่างๆ

ความสำคัญ

1.ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกันทำให้ผู้ที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆ มาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้
2.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์
3.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อน
4.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆด้านช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ แบบพหุปัญญา
5.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียนที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน
การนำไปใช้
เด็กต้องควรอยากรู้อะไร
เด็กต้องควรอยากทำอะไร

สาระที่ควรรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก บุลคล สถานที่ ธรรมชาติ สิ่งต่างๆ ประสบการณ์ทั้ง 4 ด้าน กายวาจาใจ สังคม อารมณ์ สติปัญญา


ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการนำเสนอบทความ
-ทักษะการคิดท่าทางประกอบเพลง
-ทักษะการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้เรื่องในชีวิตประจำวัน


วิธีการสอน
-ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้ก่อนเข้าเรียน
-ทบทวนบทเรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อเตือนความจำของเด็ก
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด


การประยุกต์ใช้
-นำการสอนที่ใช้ในชีวิตประจำวันไปสอนเด็กได้
-นำเพลงไปร้องให้เด็กฟังได้


บรรยากาศในการเรียน
-แอร์เย็น
-ห้องเรียนอบอุ่น
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือมาก
-สนุกสนาน


ประเมินผลอาจารย์ผู้สอน
-สอนสนุก
-เสียงดัง ฟังชัด
-ใช้เทคนิคหลายอย่างในการสอน

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


       ครั้งที่6                                                                                                                                                                                             บันทึกอนุทิน
                                             ประจำวันพุธ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558


เนื้อหา

- กิจกรรมติดป้ายชื่อบนหน้ากระดาน เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่นักศึกษาจำนวน 16 คน อยากไป คือ
1. ดรีมเวิลด์ = 5 คน
2. ทะเล = 5 คน
3. เกาหลี = 6 คน

สรุป นักศึกษากลุ่ม 101 อยากไปเที่ยวที่เกาหลีมากที่สุด หรือ นักศึกษาอยากไปเกาหลีมากกว่าดรีมเวิลดฺและทะเล ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน

จากกิจกรรมดังกล่าว จะเกี่ยวกับเรื่องการนับ ( การเพิ่มขึ้นทีละ 1) และค่าจำนวน เป็นการสอนแบบภาษาธรรมชาติ

- ทดสอบก่อนเรียน เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์มีอะไรบ้างและนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร


             เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ คือ
1.นิทาน                                                                                                                                       2. เพลง
3. เกม
4. คำคล้องจอง
5. ปริศนาคำทาย
6. บทบาทสมมติ
7. แผนภูมิรูปภาพ
8. การประกอบอาหาร
9. กิจวัตรประจำวัน เช่น การไปตลาด

นำเสนอบทความ

- เลขที่ 13 การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการสร้างหนังสือภาพ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน ได้รับประสบการณ์ตรง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
- เลขที่ 14 การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการการละเล่นพื้นบ้าน
การเล่นคำทาย,การเป่ากบ,กาฟักไข่,รีรีข้าวสาร ฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การคิด รู้จักการรอคอย คิดอย่างเป็นระบบ

- แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม แบ่งกลุ่มตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน 3 สี คือ สีส้ม สีเหลือง สีเขียว สีละ 10 อัน รวมเป็น 30 อัน โดยให้นักศึกษาต่อเป็นรูปภาพโดยเริ่มจากสี่เหลี่ยม 1 รูป ไปจนถึงสี่เหลี่ยม 5 รูป




                                                          ร้องเพลงนับนิ้วมือ

                                            นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
                                            มือซ้ายก็มีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
                                            นับ 1 2 3 4 5 นับต่อมา 6 7 8 9 10
                                            นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ


แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม

แบ่งกลุ่มตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน 3 สี สีละ 10 อัน
ให้นักศึกษาต่อเป็นรูปภาพโดยเริ่มจากสี่เหลี่ยม 1 รูป ไปจนถึงสี่เหลี่ยม 5 รูป


วิธีการสอน

-มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียน
-มีการทบวนความรู้เดิมที่เรียนในสัปดาห์ที่แล้ว
-ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการสอน
-เปิดโอกาสให้เด็กได้ระดมความคิดตอบคำถาม

ทักษะที่ได้รับ

-ได้รับประสบการณ์ตรงจากกิจกรรมที่เราได้ทำ
-ได้รับทักษะทางสังคมจากการทำงานเป็นกลุ่ม
-ได้รับทักษะในการคิดและตอบคำถาม
-การประยุกต์ใช้

-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให็กับเด็กในเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยวิธีการที่หลากหลาย

บรรยากาศในการสอน

โดยรวมเพื่อนมีความตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี
เพื่อนบางคนไม่มีความพร้อมในการเรียน
อุณหภูมิให้ห้องเย็นจนเกินไป ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ทำก่อนเค้าเรียนทุกคาบ สอนนักศึกษาโดยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริง
เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และ ตอบคำถาม

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่5
วันอาทิตย์ที่8 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558


เนื้อหา

- กิจกรรมติดชื่อบนกระดาน  ให้เด็กมีส่วนร่วมในการติดป้ายชื่อของตนเองมาเรียนกับไม่มาเรียน เป็นการสอนแบบลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และการนำไปใช้ในการเรียนการสอนเด็กต่อไป

- ทดสอบการเรียน

- มาตรฐานคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
-สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
- สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนทำได้อย่างไรบ้าง

สาระการเรียนรู้

- สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
-การนำเสอนบทความของเลขที่ 10 Mathematic ของวัยซน


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
มีทั้งหมด 6 สาระดังนี้
-จำนวนและการดำเนิน> รู้ค่าของจำนวน -การวัด > หาค่าในเชิงปริมาณ
- เรขาคณิต >รู้จักรูปร่างและรูปทรงต่างๆ
- พีชคณิต > เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของจำนวน
- การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ > รู้จักการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
- การวัด (หาค่าในเชิงปริมาณ, เครื่องมือที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัยทางคณิตศาส

1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical Thinking)
- จำนวนนับ 1 ถึง 20
- เข้าใจหลักการนับ (เพิ่มขึ้นทีละ 1)
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย ( รู้จักตัวเลข)
- รู้ค่าของจำนวน ( ต้องมีทักษะการนับเป็นอันดับแรก ถึงจะรู้ค่าของจำนวนได้)
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ ( บอกค่าและจำนวน และนำมาเปรียบเทียบ โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ
- การรวมและการแยกกลุุ่ม เช่น ติดป้ายชื่อการมาเรียน กับการมาเรียน)

2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ เวลา
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำชี้ใช้บอกช่วงเวลา (กิจกรรมที่ใช้ในการบอกเด็ก เช่น การเข้าแถว )

3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรคณิตสองมิติ

4. มีความรู้ความเข้าใจรูปของที่มีรูปร่าง   
ช่น ขนาด สี รูปทรง  ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
เช่น แผนภูมิลำดับส่วนสูง ของเด็กนักเรียอนุบาล 1 เป็นต้น

6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


เพลงทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลงเข้าแถว

 สองมือเราชูตรง 
                                                        แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
                                                        ต่อไปย้ายมาข้างหน้า
                                                      แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

                                                                 เพลง ซ้าย-ขวา
                                                                  ยืนให้ตัวตรง
                                                          ก้มหัวลงตบมือแผละ
                                                          แขนซ้ายอยู่ไหน
                                                           หันตัวไปทางนั้นแหละ

วิธีการสอน
- ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อให้ทราบถึงความรู้เดิม
- มีการบรรยายแบบถามตอบเพื่อทวนความรู้เดิม
- ใช้เทคโนโลยีในการสอน
-นักศึกษาเลขที่ 10 นำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน
-การร้องเพลง

ทักษะที่ได้รับ
-ได้ใช้ทักษะในการคิดหาคำตอบ
-ทักษะเกี่ยวกับการสรุปองค์รวมทำให้เข้าใจเนื้อหาในการเรียนมากขึ้น

การประยุกต์ใช้
- นำประสบการณ์การจากการเรียนมาปรับใช้ในการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กได้เข้าคณิตศาสตร์มาก
ยิ่งขึ้น

ประเมินตนเอง
-มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดี
-สามารถนำไปปรับใช้กกับการสอนเด็กปฐมวัยได้

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนมีความพร้อมในการเรียนดีแลดูเข้าใจตอบคำถามได้ดี

ประเมินอาจารย์
-แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการใช้น้ำเสียงที่ชัดเจนและใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ร้องเพลงมีความไพเพราะมาก

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่4
วันที่29 มกราคม พ.ศ 2558

บันทึกอนุทิน

ประจำวันพุธที่28 มกราคม พ.ศ 2558

เนื้อหาการเรียน

-ทดสอบก่อนเรียนทุกครั้ง
-กิจกรรมการสอนคณิตศาตร์เกี่ยวกับการมาเรียน
-กิจกรรมการทำป้ายชื่อเพื่อเป็นสื่อในการสอนคณิตศาสตร์ฅ

กิจกรรมการเรียนการสอน

นำเสนอโทรทัศน์ครู เลขที่ 7,8,9 เพื่อเป็นการสอนให้นักศึกษาหมั่นค้นคว้าแนวทางในการเรียนรู้ภายนอกห้องเรียนเพิ่มเติม

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจเกียวกับคณิตศาสตร์เช่นการรู้จักคำศัพท์ต่างๆ
พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เช่น บวก ลบ
เพื่อให้เด็กรู้จักการใช้กระบวนการหาคำตอบ
เพื่อฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยทางด้านคณิตศาสตร์

1). การสังเกต -ใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง
-โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์ทางโดยตรงกับร่างกาย

2) การจำแนก - แบ่งประเภท
-เกณฑ์คือ ความเหมือน ความเเตกต่าง

3)การเปรียบเทียบ เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของเเละเด็กจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ

4) การจัดลำดับ
ทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
การจัดลำดับวัตถุ

5)การวัด
ความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย

6)
การนับ

ชอบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
การนับเเบบท่องจำจะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7) รูปทรงเเละขนาด เด็กส่วนใหญ่จะรู้ขนาดเเละรูปทรงก่อนจะเข้าโรงเรียนเพราะดูจากสิ่งเเวดล้อมรอบตัว

การนับจำนวนแล้วจับคู่ภาพ


การเปรียบเทียบ



การวัด


เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




เพลง สวัสดียามเช้า

ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า 
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว
หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ
ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า




เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน

หนึ่งปีนั้นมีสิบสอง
อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
หลั่นลัน หลั่นล้า



เพลง เข้าแถว

เข้าแถว เข้าแถว
อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว




ทักษะที่ได้รับ
1.ทักษะด้านการคิด
2.ทักษะด้านการทำงานเป็นกลุ่ม
3.ได่้รู้เทคนิคการสอน

วิธีการสอน
เรียนรู้ด้วยตนเองเเล้วคุณครูจะอธิบายเเละให้เข้าใจความหมายให้เข้าใจมากขึ้นใช้สื่อที่เขียนเองเเละใช้โปรเเกรมพาวเวอพ้อยเป็นสื่อในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น


การประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้
-การสรุปความ


-การพูดอภิปราย
-การทำงานเป็นกลุ่ม


การประยุกต์ใช้
เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปจัดกิจกรรม ให้เหมาะกับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้ใช้ทักษะตามศักยภาพของตนเอง


บรรยากาศในชั้นเรียน
อุปกรณ์ในห้องพร้อมใช้งาน คุณครูเเต่งกายสุภาพพูดจาชัดเจน มาเข้าสอนตรงตามเวลา

ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำงานที่คุณครูมอบหมายอยาางมีประสิทธิภาพ


ประเมินเพื่อน
เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนดีทำงานตามที่ได้รับมอบหมายได้ดี มีพูดกันเสียงดังเล็กน้อย

ประเมินอาจารย์ 
มีน้ำเสียงในการสอนที่พอดี ไม่สูงไม่ต่ำมากจนเกินไป หากิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนมาให้นักศึกษาทำ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร้องเพลงได้ไพเราะ มีเสียงสูงเสียงต่ำ ฟังแล้วไพเราะเสนาะหู










ครั้งที่3  
วันศุกร์ 23 มกราคม พ.ศ 2558

บันทึกอนุทิน

ประจำวันพุธที่21 มกราคม พ.ศ 2558

เนื้อหาการเรียน

ทดสอบก่อนเรียน
- ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
- พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
- พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
- การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
- เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร
ความหมายพัฒนาการและประโยชน์
พัฒนาการคือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์
เพื่อให้รู้ถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล
รู้ความสามารถของเด็กเพื่อจักกิจกรรมให้เหมาะสม


ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์


1).ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู

2).ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปีแบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้นคือ ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข
3).ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล
4.ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่

ทฤษฎีการเรียนรู้ของไวก๊อตสกี้

ความสามารถของเด็กจะเกิดขึ้นได้ดีจะต้องมีความช่วยเหลือจากครูและผู้ปกครองและเด็กจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ลงมือทำแบบอิสละและเลือกได้
ประโยชน์ของการเรียนรู้
เพื่อให้เราอยู่รอดเป็นทักษะของชีวิต
เพื่อจะได้จักกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้

 ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์ 

เด็กจะสร้างภาพขึ้นมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้
1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
-ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
-ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
-ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)


วิธีการสอน
- ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อทดสอบความรู้เดิม
- มีการบรรยายแบบถามตอบเพื่อทวนความรู้เดิม
- ใช้เทคโนโลยีในการสอน



ประเมินตนเอง
เข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา แต่บางอย่างต้องศึกษาเองเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน
ให้ความร่วมมือดี ตอบคำถามและมีความสนใจดี
ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพเรียนร้อย พูดด้วยถ้อยคำที่ชัดเจนและสอนเข้าใจเข้าและยังใช้เทคนิคต่างๆในการสอนมากมายมากมาย



สรุปงานวิจัย

วันที่23 มกราคม พ.ศ 2558


 เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน

ชื่องานวิจัย:  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจหรรมการสาน
ผู้วิจย; วันดี  มั่นจงดี
มหาวิทยาลัย: ศร๊นครินทรวิโรฒ
ปี: 2554

ความสำคัญ


 การศึกษาในระดับปฐมวัยจัดเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความสำคัญระดับหนึ่งเพราะเป็นช่วงที่มีการพัฒนาทุกด้านเจริญอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาและการพัฒนาของเด็กในช่วงนี้จะเป็นการวางพื้นฐานความสามารถด้านต่างๆซึ่ง จะมีผลต่ออนาคตของเด็กประเทศชาติ โดยเฉพราะอย่างยิ่งพัฒนาทางด้านสติปัญญาจะมีผลต่อการเจรฺิญเติบโตสูงสุดร้อยล่ะ 50 และจะเพิ่งเป็นร้อยล่ะ 80 เมื่อเด็กอายุประมาณ 8 ขวบ เราควรจัดการศึกษาการจัดกิจกรรมในโรงเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยเพราะเด็กมีความจำเป็นจะต้องการกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับเด็กเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการต่างๆต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย


         ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย

              ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง4-5 ปีของโรงเรียนวัดนิมมานรดี สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน240 คน
       
         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

              กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลที่1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึษา2553
       
         ตัวแปรที่ศึกษา

             ตัวแปรอิสระ ได้แก่  การจัดกิจกรรมการสาน
             ตัวแปรตาม   ได้แก่  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

        นิยามศัพท์เฉพาะ

            1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลที่1 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2553
           2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถการสังเกตการเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่เป็นต้น
วิธีดำเนินการวิจัย


วิธีการดำเนินงานวิจัย

1. การกำหนดประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล


สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการ
จำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน
1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ย
สูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01








สรุปบทความ

วันศุกที่16 มกราคม พ.ศ 2558

เรื่อง เจอะคณิตศาสตร์ปฐมวัย พ่อแม่ทราบหรือไม่ลูกๆ เรียนอ่ะไรกัน

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์



คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ 3-5 ขวบมีดังนี้


1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม

2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน

3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ

4) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

5) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม

6) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการทำงานเป็นกลุ่ม


วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ประจำวันพุธที่ 7 มกราคม 2558
เนื้อหา  

การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์

- เด็กได้เรียนรู้จากการเล่น
-ให้เด็กลงมือทำด้วยตนเอง
-ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่ม  
-จักเกมการศึกษา เช่น  เกมจับคู่ เป็นต้น

รูปทรงทางคณิตศาสตร์ เช่น

-สี่เหลี่ยมจตุรัส วงกลม วงรี  สื่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงกระบอก ทรงกรวย เป็นต้น 
-จำนาวหรือตัวเลข 1-10
-เส้น เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นหยัก เป็นต้น
-การบวก การลบ การคูณ การหาร

ประโยชน์


-เด็กสามารถรับรู้เกี่ยวกับเรื่องของการจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของมันได้

-สามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อขายสินค้า การบอกเวลา เป็นต้น

-สามารถนำไปจัดเกมการศึกษา เช่น จับคู่รูปร่าง จับคู่จำ

แนวคิดของนักการศึกษา เช่น แนวคิดของ  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์(Intellectual development Theory)
ซึ่งเป็นทษฏีที่ยอมรักกันอย่างแพร่หลาย และสามารถเป็นแนวทางทางการศีกษาของนักศึกษาและใช้ในการสอนของครู

วิธีการสอน

-สอนแบบบูรณาการณ์ การรวบรวมความคิดของนักศึกษาในกานอบคำถามในขั้นเรียน 
-สอนให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง
-สอนให้นำเสนอหน้าช้นเรียน



การประยุกต์ใช้

-นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กเพื่อให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับค่าของตัวเลข ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น เกมการศึกษา เกมจับคู่ เป็นต้น

การประเมิน

-ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังครูผู้สอน ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ทำงานที่ได้รับมอบหมาย

-ประเมินเพื่อน ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน


-ประเมินอาจารย์ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจง่าย ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พูดเสียงดังฟังชัดค่ะ